ประกันคุณภาพการศึกษา
ผลการประเมินคุณภาพภายในรอบที่ผ่านมา
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา | การประเมินคุณภาพภายใน |
ผลการประเมินตนเอง | |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน | ดี |
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของ ผู้บริหารสถานศึกษา | ดีเลิศ |
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ | ดีเลิศ |
สรุปผลภาพรวมของสถานศึกษา
ระดับคุณภาพ ( ) กำลังพัฒนา ( ) ปานกลาง ( ) ดี (/ ) ดีเลิศ ( ) ยอดเยี่ยม
ผลการประเมินภายนอกรอบที่ผ่านมา (รอบสี่)
สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 – 2563 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้าน | ระดับคุณภาพ | |
1. | คุณภาพผู้เรียน | ดีมาก |
2. | กระบวนการบริหารและการจัดการ | ดีมาก |
3. | กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ | ดี |
จุดเด่น
ด้านคุณภาพของผู้เรียน
1. คุณลักษณะทางด้านคุณธรรม จริยธรรมการปลูกฝังมารยาทการแสดงออก
2. การใช้ระบบ APP NEXT SCHOOL เชื่อมโยงกับเครือข่ายผู้ปกครอง
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
1. สถานศึกษาดำเนินการตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข จนได้ผลเป็นที่ประจักษ์ สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานศึกษาได้ผลอย่างยั่งยืนเป็นที่ยอมรับจากชุมชน และหน่วยงานต้นสังกัด
2. สถานศึกษามีบริเวณพื้นที่มากและมีการจัดสิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมร่มรื่น มีไม้ยืนต้น และไม้ประดับอยู่รอบบริเวณอาคารเรียน อาคารประกอบ อาคารเรียนมีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงไว้ และมีการจัดสวนหย่อมหลายแห่ง มีที่นั่งพักให้ผู้เรียนได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
3. การจัดระบบเทคโนโลยีมีความพร้อม เช่น มีห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ห้อง มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ 150 เครื่อง และมีอุปกรณ์เสริม คือ ชุด Micro bit เพื่อช่วยในการใช้สอนCoding ผ่านคอมพิวเตอร์ มีห้องเรียนอัจฉริยะ 1 ห้อง จัดการเรียนการสอนโดยใช้ Active board
4. สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากชุมชน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สอนตรงตามสาขาวิชาเอก และมีความสามัคคีทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาให้เกิดคุณภาพ
จุดที่ควรพัฒนา
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. การสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดกับผู้เรียนในเรื่องที่จะสอน เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ก่อนมีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมให้มากขึ้น
2. การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเพิ่มคุณลักษณะของครูมืออาชีพ
ข้อเสนอแนะตามนโยบายจากหน่วยงานต้นสังกัด
ด้านคุณภาพของผู้เรียน
1. ประสานความร่วมมือกับเขตพื้นที่ฯ เพื่อพัฒนาเครื่องมือนิเทศการสอน พัฒนาบุคลากรนิเทศการสอน มีการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูเพื่อการวิเคราะห์หลักสูตร และการเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ควรจัดแสดงนิทรรศการครู และผู้เรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
2. ผลิต จัดหา และพัฒนาสื่อหลากหลายทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซ่อมแซมส่วนที่มีให้ใช้ประโยชน์ได้
3. ควรมีการทำวิจัยด้านการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และรูปแบบรายงานผลการวิจัยที่มีความเป็นเอกภาพ และควรมีระบบการประกันคุณภาพภายในที่ดี อย่างต่อเนื่อง
4. จัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้การทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยครูเป็นผู้ดูแล และควรขยายเครือข่ายและแหล่งเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศ ประสานความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างรอบด้าน
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
1. ต้องให้ครูและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และร่วมมือกับฝ่าย
เทคโนโลยี เพื่อสร้างพื้นที่ในการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. ทุกกลุ่มงานควรดำเนินการให้สอดคล้องกับแผน และใช้แผนเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการ
3. ผู้ปกครองบางส่วนยังขาดความพร้อมด้านเทคโนโลยี และเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์บ่อยครั้ง ดังนั้น ครูควรมีช่องทางการประสานงานกับผู้ปกครองให้หลากหลายช่องทาง
4. ควรนำผลการดำเนินงานมาพัฒนาการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จัดกิจกรรมแบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้ดำเนินการเองเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียน
ได้ฝึกปฏิบัติ และเรียนรู้การทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีครูเป็นผู้ดูแล และคอยให้คำแนะนำ
กำหนดการดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะภายใน 1 ปี
ข้อเสนอแนะ
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ครูควรพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สอนครบตรงตามหลักสูตร ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกระตือรือร้นที่ต้องการเรียนยิ่งขึ้น เน้นปรับปรุงพัฒนาแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ทุกระดับ เพื่อพัฒนาผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะชีวิต ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับการเตรียมผู้เรียนในพื้นที่ เพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
2. สถานศึกษาต่อยอดการจัดผู้เรียนไปทัศนศึกษาดูงานภาครัฐ ภาคเอกชน โรงงาน สถาน
ประกอบการตามความเหมาะสม เน้นระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 เพื่อเปิดโลกทัศน์เสริมสร้างแรงบันดาลใจด้านอาชีพ
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกของครูในการปรับแก้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้เกิดระเบียบในห้องเรียนด้วยความเต็มใจ และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับช่วงสอนทฤษฎี และแบบกลุ่ม เช่น จัดเก้าอี้ในช่วงเรียนทฤษฎีดนตรีสากล และห้องอื่น ๆ ไม่อึดอัดอย่างเหมาะสมตามสภาพที่ดีตามแนวทางการจัดห้องเรียนมาตรฐาน
4. พัฒนาบุคลิกภาพการสอนครู ส่งเสริมเทคนิคการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม สื่อสารถึงผู้เรียนด้วยถ้อยคำที่ไพเราะมากขึ้น เสาะหาตัวอย่างที่ดีให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจให้ใฝ่เรียนรู้
กำหนดการดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะภายใน 2 ปี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสู่นวัตกรรม หรือแบบอย่างที่ดี
ด้านคุณภาพของผู้เรียน โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย สถานศึกษาดำเนินการจนบรรลุผลสำเร็จ ผู้เรียนมีระเบียบวินัย สนใจในการเรียน มีมารยาท มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ มีสัมมาคารวะ มีจิตอาสา มีความสามารถ สถานศึกษาสามารถใช้ศักยภาพ ในการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน ให้เป็นที่ยอมรับขององค์กรภายนอก และชุมชนโดยรอบ ให้เป็นภาพลักษณ์ของสถานศึกษา ที่ผู้พบเห็นต้องกล่าวว่า “ผู้เรียนมารยาทดีต้องที่นิคมวิทยา” ให้เป็นภาพลักษณ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ ของสถานศึกษาอย่างชัดเจน ขยายผลความสำเร็จให้เป็นแบบอย่างสู่สถานศึกษาในเขตพื้นที่บริการ โดยการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนที่มีทักษะการไหว้ และการแสดงออกที่ถูกแบบแผนไปสาธิตการไหว้ ร่วมฝึกทักษะให้กับสถานศึกษาในเขตพื้นที่บริการ เป็นการฝึกทักษะผู้เรียนให้มีทักษะในด้านต่าง ๆ และยกระดับสถานศึกษาด้านอัตลักษณ์ “ยิ้ม ไหว้ ทักทาย สวัสดี” และเอกลักษณ์ “สถานศึกษาคุณธรรม” สู่การเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่ยอมรับของชุมชนภายนอก และระดับจังหวัด และการจัดการระบบ APP NEXT SCHOOL เชื่อมโยงกับเครือข่ายผู้ปกครอง ควรเผยแพร่เพื่อเป็นแบบอย่างไปสู่สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ต่อไป
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
1. สถานศึกษาดำเนินการตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข จนได้ผลเป็นที่ประจักษ์ สถานศึกษาควรสร้างภาคีเครือข่ายให้ขยายใหญ่ขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายความร่วมมือกับสถานศึกษาภายในจังหวัดระยอง และจังหวัดใกล้เคียง เกี่ยวกับความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งเฝ้าระวังติดตามวิธีการแพร่ระบาดของยาเสพติด และอบายมุขซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบวิธีการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะได้หาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สถานศึกษาควรเตรียมการจัดระบบป้องกันภัยพิบัติ มีแผนรองรับและมีการซ้อมเผชิญเหตุล่วงหน้า เช่น ในกรณีเกิดอัคคีภัยจะดำเนินการอย่างไร (เช่นการซ้อมอพยพในกรณีเกิดไฟไหม้) และแต่ละอาคารควรมีเครื่องดับเพลิงเตรียมไว้ทุกอาคาร (อาคารเรียน และอาคารประกอบ)
3. ควรปรับระบบการเรียนการสอนเพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) คือ 1.ยานยนต์แห่งอนาคต
2. อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 4. แปรรูปอาหาร 5. การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และเชิงสุขภาพ 6. หุ่นยนต์ 7. การบิน และโลจิสติกส์ 8. การแพทย์ครบวงจร 9. เชื้อเพลิงชีวภาพ 10. ดิจิทัล หลักสูตร
4. ควรทำทะเบียนพรรณไม้ในสถานศึกษา ติดป้ายบอกชื่อสามัญต้นไม้ให้ทั่วบริเวณ ชื่อทาง
วิทยาศาสตร์ และอธิบายแหล่งกำเนิด ประโยชน์ เพื่อทำให้บริเวณทั่วสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้
5. สถานศึกษาควรเตรียมการเพื่อเข้าสู่ระดับมาตรฐานสากลตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่ได้กำหนดไว้ควรเตรียมการปัจจัยพื้นฐานเป็นเบื้องต้น คือ
5.1 จำนวนผู้เรียนไม่เกิน 35 คน : ห้อง
5.2 ภาระงานสอนครู ไม่เกิน 20 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์
5.3 สถานศึกษามีคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับผู้เรียนทุกคน
5.4 สถานศึกษามีห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ
และมีอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เน้นความเป็นเลิศ
5.5 สถานศึกษามีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบความเร็วสูงเชื่อมโยงครอบคลุมทุกพื้นที่
พื้นที่ของสถานศึกษา
5.6 สถานศึกษาจัดให้มีหนังสือ / ตำราเรียนที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้เรียนอย่างเพียงพอ
5.7 สถานศึกษามีห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ ศูนย์วิทยบริการ (Resource Center) ที่มี
สภาพแวดล้อมบรรยากาศเอื้อต่อการใช้บริการ มีสื่อที่พอเพียงเหมาะสม ทันสมัย มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ และการค้นคว้าอย่างหลากหลาย
6. สถานศึกษาควรสนับสนุนให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางวิศวกรรม (Engineering Design Process) EDP 5 ขั้น ตามรูปแบบของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สรุปผลการประเมินความโดดเด่น
สถานศึกษาดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สามารถสกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุขไม่ให้แพร่เข้ามาในสถานศึกษาอย่างได้ผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้เรียนด้วยกิจกรรมต่าง ๆ หลากหลาย ด้วยรูปแบบ “NW MODEL” (ล้อมรั้วด้วยรัก ฟูมฟักด้วยใจ เติบใหญ่ด้วยคุณธรรมนำความรู้) ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ จนเป็นที่ยอมรับในระดับท้องถิ่น ชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่ หน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานภายนอก เห็นได้จากรางวัลต่าง ๆ ที่สถานศึกษาได้รับ คือ 1. โล่ประกาศเกียรติคุณโครงการสถานศึกษามาตรฐานต้านยาเสพติดอย่างเป็นระบบ ตามวงจรการ ควบคุมคุณภาพ (Deming Cycle) จากสำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย ปีการศึกษา 2559 2. รางวัลระดับดี ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประจำปีการศึกษา 2559 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 3. รางวัลเสมา ป.ป.ส.ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประจำปีการศึกษา 2559 จากกระทรวงศึกษาธิการ 4. รางวัลเสมา ป.ป.ส.ประเภทผลงานดีเด่น ระดับทอง โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประจำปีการศึกษา 2560 จากกระทรวงศึกษาธิการ 5. รางวัลครูดีไม่มีอบายมุข ประเภทครูผู้สอน ประจำปีการศึกษา 2561
รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) ปี 2566